แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - dhammawangso

หน้า: [1] 2 3 ... 16
1
ก่อนอื่นต้องขออภัย ท่านที่สมัครสมาชิกกัน ไม่ได้เข้ามาดูตรงนี้ตั้งแต่สุขภาพไม่ดี 2 ปีกว่า ๆ

ดังนั้นท่านที่สมัครสมาชิก ต้อง แจ้งไปที่ เฟส ส่วนตัวได้เลยนะ

https://www.facebook.com/Dhammawangso

ทิ้งข้อความไว้ว่า สมัครสมาชิก อันนี้มันจะรายงานในมือถือ ซึ่งน่าจะไวกว่ารอเข้ามาอ่าน


2


ถ้าไม่มีกรรมฐาน ก็ตายตั้งนานแล้ว
วันนี้คุณหมอบอกว่า ท่านรอดมาได้อย่างไร ความดัน 350 คนทั่วไปแค่ 200 ก็นอนอย่างเดียว หมอสงสัยว่าเป็นที่เครื่องหรือเป็นอะไรกันแน่ นำเครื่องมาวัด จนฉันปวดแขนกันวันนี้ ถึง 8 เครื่องด้วยกัน ทุกเครื่องให้ผลแบบเดียวกัน ยกเว้น เครื่องแบบ manaul ที่ระบุ ค่าเลขไม่ได้แน่
อยากให้ท่านทั้งหลาย เห็นประโยชน์ของกรรมฐาน กับสุขภาพกันบ้าง แม้ประโยชน์ของกรรมฐาน จริง ๆ แล้วมีประโยชน์ ต่อ วิญญาณและ จิต แต่สุขภาพ ก็เป็นผลทางอ้อม
คนเรา มีความแก่ ความเจ็บ และ ตาย กันอยู่แล้วเป็นธรรมดา
แต่เวลาเจ็บ ก็ให้จิตผ่องใสดีกว่า กายมันจะเป็นอย่างไรก็ให้เป็นเรื่องของกาย ดังนั้นผู้ภาวนาพึงต้องรักษาจิต และ วิญญาณของตน ให้ทรงความผ่องใสให้มาก
ทุกท่าน ถ้าทำได้ก็จะเป็นแคนแก่ คนเจ็บ และคนใกล้ตาย ที่ไม่ทรมาน แต่ถ้าฝึกฝนไม่ได้ หรือ ไม่ได้ฝึกฝนแน่นอน เมื่อความแก่ ความเจ็บ และความตาย เข้ามาเยือน ท่านยอม นอนเป็นทุกข์ นั่งเป็นทุกข์ ยืนเป็นทุกข์ เดินก็เป็นทุกข์
ที่สำคัญ มันเป็น ทุกข์ 3 เท่า นะ คือ ทุกข์กาย ทุกข์จิต และ ทุกข์วิญญาณ
ดังนั้นการหมั่นภาวนา ก็ย่อมทำให้ ท่านทั้งหลาย ไม่ลำบากเมื่อสภาวะเหล่านี้มาถึง
คนหลายคน ปล่อยชีิวิตให้โง่ ทุกข์มันทั้งสามอย่าง เลยอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ไม่สมกับเป็นศิษย์ในสาย มูลกรรมฐาน กัจจายนะ เลย
เจริญพร

3


สรรพสิ่ง ล้วนดั่งเช่น มายาหมอก
ที่หลอกหลอก ให้คนหลง ในสงสาร
ให้เวียนเกิด เวียนตาย ทรมาน
ให้ซมซาน เป็นทุกข์ยิ่ง ทุกคราไป
มีปัญญา มองเห็น มายานี้
ให้รีบรี้ เรียนสัจจะ เป็นที่หมาย
เห็นความจริง เกิดเสื่อมขึ้น ทั้งต้นปลาย
ให้ใจกาย เข้าเร้นอยู่  วิมุตติ เอย
 ธัมมะวังโส
๒๕ ก.พ. ๖๐

4
กิจกรรมชาวธรรม / ภาพธรรมคำกลอน 2560-01 วัฏฏะสงสาร
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2017, 12:06:16 PM »


วัฏฏะสงสาร
แปรปรวนปัจจัยเนื่องซึ่งกันและกัน
กิเลส กรรม วิบาก
ตัวที่ทำให้ ทุกข์ ก็คือ กรรม ไม่ใช่กิเลส
เพราะกิเลส สามารถดับได้ด้วยภาวนา


ยามเกิดมา ไม่ได้มี มาแต่เกิด
แต่กำเนิด อาศัยกรรม มาส่งผล
ให้ได้อยู่  สุขหรือทุกข์ หรืออับจน
ให้พิกล  พิการมา เพราะกรรมตน เอย
 ธัมมะวังโส
๒๓ ก.พ. ๖๐

5


สรุป มีผู้เข้ามาสวดด้วยในข่ายสมาธิด้วยกายหยาบ 4 ท่าน และกายละเอียด 4 ท่าน กายทิพย์ 1 ท่าน
ก็ขอให้ทุกท่านที่ได้ร่วมภาระกิจสวดคาถาพญาไก่แก้ว ส่งท้ายปี ต้อนรับปี ถึงซึ่งมงคล อย่าได้ตกต่ำ ให้อยู่รอด ปลอดภัย มีชีวิตที่มีสุข ค้าขายก็ขอให้จำเริญ อยู่ได้
ผู้ใดปรารถนา สำเร็จธรรมก็ขอให้ได้คุณธรรม ตามที่ตนเองปรารถนาและภาวนา ด้วยเทอญ
อนุโมทนา กับทุกท่านที่ได้ร่วมสวดคาถา พญาไก่แก้ว มาด้วยกันเพื่อต้อนรับปีระกา ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่เดือน
ระกาแก้ว ปโมกธรรม สวดสิ้นแล้ว
ให้ผ่องแผ้ว ธรรมจิต ทุกสถาน
ให้รื่นเริง มีปีติ ธรรมเบิกบาน
ให้สราญ ในกระแส กุศลธรรม
ให้เพื่อนเพื่อน ที่ฉลอง ส่งปีเก่า
ให้ปัดเป่า ความเศร้าหมอง ให้จางหาย
หากประสงค์ เข้าถึงธรรม ใจผ่องกาย
ให้ไม่วาย จากคลองธรรม สมใจ เทอญ
ธัมมะวังโส
๑ ม.ค. ๒๕๖๐ เวลา ๐๐.๒๙ น.
เจริญธรรม / เจริญพร

6
กิจกรรมชาวธรรม / ภาพธรรม ไตรมาส 4 07/04
« เมื่อ: ธันวาคม 29, 2016, 10:25:42 AM »


มอง ให้เห็น เป็นถ้วนทั่ว ทุกข์ข้องขัด
เห็น ให้ชัด  เหตุที่แบก อะไร เหวย
ตาม พินิจ พิจารณา อย่าละเลย
จริง เฉลย ด้วยปัญญา มองเห็นภัย
แจ่ม ในเหตุ คล่องด้วยรู้ ในสีแสง
แจ้ง พลิกแพลง รวมลงสู่ ธรรมส่วนสอง
ชัด ทุกรูป เพียรต่อเนื่อง ตามทำนอง
เจน ประคอง ดับอย่างขาด รอดบ่วงมาร เอย
                            ธัมมะวังโส
                             ๒๙ ธ.ค. ๕๙

7


ทุกข์ คนอื่น เรามองเห็น  ดั่งหิ่งห้อย
ทุกข์ เราน้อย เรามองเห็น อย่างภูเขา
ทุกข์ คนอื่น เแก่เจ็บตาย มองอย่างเบา
ทุกข์ ของเรา ใหญ่กว่า มหานที  เอย
                             ธัมมะวังโส
                          ๑๙ ธ.ค. ๕๙


คำบรรยาย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=22769

8


กตัญญูเป็นคุณธรรม พื้นฐาน ของพระโยคาวจร ถ้าไม่มี คุณธรรมภาวนาขั้นสูงเกิดไม่ได้ ตามนั้น

กตัญญูในที่นี้หมายถึง ความกตัญญูต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ วิชากรรมฐาน และครูผู้บอกกรรมฐาน

9


ตั้งจิตลง ส่งอักษร ธรรมปรากฎ
   ให้เคารพ พุทโธจิต จารอย่าหาย
เขียนกำหนด ให้ปรากฏ แจ้งใจกาย
  จิตเลือมพราย โคจรลง สัมปยุต เอย
                                ธัมมะวังโส
                             ๑๘ ธ.ค. ๕๙



11


ประเพณีลอยกระทง 14 พ.ย.59 ควรจะกระทำหรือไม่ ?
หลายคนแสดงความคิดเห็นว่า ช่วงนี้เป็นช่วงไว้อาลัยแด่พ่อแห่งแผ่นดินจึงไม่ควรจัดงาน วันลอยกระทง แต่ฉันคิดต่างไปสักเล็กน้อยว่า งานลอยกระทงควรจะจัดเพราะ แท้จริงของการลอยกระทงคนไทยมีสองความหมายเท่านั้นเองไม่ได้จัดเป็นงานรื่นเริง สามารถจัดงานลอยกระทงแบบสงบเงียบ ก็สามารถกระทำได้ อีกอย่าง พ่อ คงไม่อยากให้ลูกมานั่งหงอย นั่งเศร้า หรอกคนเป็นพ่อ รักลูก ก็อยากให้ลูกมีความสุข ดังนั้นการจัดงานลอยกระทงจึงเป็นเรื่องที่ควรทำเพราะเป็นประเพณีทีดีงาม

การลอยกระทงนั้น คนไทยชาวกสิกรรม ล้วนแล้วแต่ขอบคุณแม่น้ำจึงบูชาแม่น้ำด้วยวิธีการมอบเครื่องสักการะ แต่ทุกวันนี้กลายเป็นขยะมากไปเพราะใช้โฟม ใช้เคมี ดังนั้นจะเป็นประโยชน์แก่แม่น้ำก็ต้องใช้วัสดุธรรมชาต อาหารขนมปังก็พอได้ สัตว์น้ำได้กินเป็นทาน ทั้งยังทำให้คนอัตคัตมีกิน มีใช้จากเหรียญทานใส่กระทงด้วย และเป็นการรักษาวัฒนธรรมไว้ให้ลูกหลานเห็น คุณค่าทางจิตด้วยการให้ความเคารพ ต่อพระแม่คงคา

กระทงสร้าง ด้วยจิต มีสำนึก
เพราะระลึก คุณแห่งน้ำ ไม่สงสัย
แม่คงคา เลี้ยงชีวิต เส้นเลือดใจ
อันชนไทย บูชาคุณ "มหานที" เอย

ส่วนชาวพุทธก็ถือโอกาสใช้กระทงเป็นเครื่องบูชาสักการะพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาท นัมมทานที ในช่วงคืนเดือนเพ็ญนี้ อาศัย พวกนาค นำพาสักการะอันสมควรแก่ รอยพระพุทธบาท นัมมทานที ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทที่มีอยู่น้ำ ซึ่งมนุษย์ทั่วไปไม่สามารถลงไปกราบสักการะได้ คงต้องอาศัยจังหวะช่วงนี้เท่านั้นที่เรียกว่า น้ำหลากเดือนสิบสอง ความเป็นจริงแล้วก็เป็นมอบอามิสบูชาต่อ พระพุทธเจ้าส่วนหนึ่งตามความเชื่อ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย ก็ขึ้นอยู่วัดแต่ละวัดไปจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าไใจไปอย่างไร แต่บางทีก็เห็นว่า ลอยกระทงสวรค์ไปด้วย บูชา จุฬามณี กลายเป็นที่สนุกสนาน ผสมผสานงานบุญตามศรัทธาเลื่อมใส

ส่วนชาวพุทธ น้อมถึงคุณ พุทโธเจ้า
จึงเข้าเฝ้า รอยพระบาท นทีหลวง
น้อมกระทง แทนศรัทธา ใจหมื่นดวง
ให้ปลื้มทรวง ปีติลง "นัมมะทา มหานที" เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร

12


สุ ฟังไว้ ศึกษาจริง ให้ถี่ถ้วน
จิ คิดล้วน ตริตรึก ให้ผ่องใส
ปุ สอบถาม ความลึกซึ้ง ให้เข้าใจ
ลิ เขียนไว้ แทนจำมาก กันหลงลืม
               ธมฺมวํโส
              ๓๑ ต.ค. ๕๙

13


ธ สถิตย์ ภูมิพล อันล้นเกล้า
ทุกเรือนเหย้า ชนชาวไทย คร่ำครวญหา
ณ วันนี้ ไม่มีแล้ว พระปิตา
เปล่งวาจา เสด็จสู่ สวรรคาลัย เทอญ
ธมฺมวํโส
๑๕ ต.ค. ๕๙


ช่วงนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค.59 เป็นช่วงที่ ชาวไทย ที่เป็นพสกนิกร ที่จงรักภักดี ต่อ พ่อหลวงแห่งแผ่นดิน ต้องถึงความวิปโยค คือความรู้สึกเสียใจ ต่อการจากไป ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ( รัชกาลที่ 9 ) ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่ต้องมีความกระเทือนใจ เพราะการจากไปในครั้งนี้ ดังนั้นคนที่วิปโยค คร่ำครวญอยู่นั้น ก็แสดงถึงน้ำใจที่มีต่อ พ่อหลวงแห่งแผ่นดิน

แต่เสียงคร่ำครวญทั้งหลายเหล่านั้น ก็ไม่สำคัญเท่ากับ การรับพระบรมราโชวาท ของ พระองค์ นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน พระองค์จะยินดีมากกว่า ที่ เราท่านทั้งหลาย จะมามัวคร่ำครวญกันทั้งวันทั้งคืน

ในคราสมัยที่ สมเด็จย่า สู่สวรรคาลัยนั้น เคยจำได้ว่า พระองค์ท่านตรัสว่า อย่าได้ร้องไห้เพราะการจากไป แต่จงระลึกความดี และทำความดี เหมือนสมัยที่ สมเด็จย่า กระทำ นี่เป็นวิจารณญาณอันเลิศ

ดังนั้นส่วนของอาตมา ก็รับ พระบรมราโชวาท ปฏิบัติตามอย่างน้อยอยู่อย่างหนึ่ง คือ เรื่องการปิดทองหลังพระ ซึ่งอาตมาก็พยายาม ทำงานเผยแผ่ ภายใต้ความกดดันต่าง ๆ อย่างไม่ย่อท้อ ในสภาวะเรียกว่าให้ ด้วยการแจกธรรม ทำงานภายใต้ประโยคว่า "ปิดทองหลังพระ." ซึ่งปีนี้นับเป็นทางการเป็น ปีที่ 11 แต่ตัวเว็บมีเป็นทางการ ก็ 10 ปี

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงสำรวมใจ พร้อมส่งเสด็จให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เสด็จสู่สวรรคาลัย อย่างพร้อมเพรียงด้วยการตั้งมั่นในคุณงามความดี

ส่วนการจากไปนั้นก็ต้องถือเป็นธรรมดา ของมนุษย์ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ ว่า

อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า

ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ฐานะอะไร ทุกคนที่เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องตายในที่สุด แต่คนเราเมื่อมีชีวิตอยู่ พึงประกอบสร้างกุศลกรรมไว้มาก ดังที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ พระองค์ก็ใช้ชีวิตอยู่ด้วยคุณงามความดี กระทำกรณียกิจ ของพระมหากษัตริย์ไว้เป็นอย่างเอนกอนันต์ จนชนชาวไทยส่วนใหญ่ ก็ระลึกถึงพระคุณนี้และภูมิใจใน พ่อหลวงแห่งแผ่นดิน พระองค์นี้ไว้ในใจอย่างมิลืม

ก็เชิญท่านทั้งหลาย จงแสดง ความกตัญญู ไว้อาลัยต่อพระองค์ท่านตามประกาศของรัฐบาล เท่าที่ทำกันได้เถิด

อาตมาขออนุโมทนา แก่ทุกท่านที่ยังรัก พ่อหลวงแห่งแผ่นดิน และเหนียวแน่นในการสร้างคุณงามความดี ดังที่ท่านทั้งหลายได้เป็นพสกนิกรที่จงรักภักดี ต่อพระองค์ท่าน จงถึงสุขอันไพบูลย์ ถึงพร้อมด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ในกาลทุกเมื่อเทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร


14


มอบธรรม วันธรรมสวนะ เป็นกำนัลแด่ผู้ร่วมทาง
"มรณา นุสสติ เป็นกรรมฐาน ที่ทำให้รู้จักพอ ละตัณหาได้ระดับหนึ่ง
สำหรับกรรมฐานนี้ จะมั่นคงมีได้ตั้งแต่ระดับพระโสดาบัน คนธรรมดาใช้กรรมฐานก็เพียงเตือนสติ แต่ไม่สามารถสละกิเลสได้ และใช้เป็นบาทวิปัสสนา แค่ทำให้รู้สึกสลด รู้จักคิดบ้างเป็นบางครั้ง ถ้าเจริญในปุุถุชนมากไป จะทำให้รู้สึกท้อแท้ ก็มีโทษของกรรมฐานอยู่ ซึ่งไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์ของการเจริญ มรณานุสสติ ดังนั้นผู้เจริญ มรณานุสสติ นั้นควรเป็นผู้มุ่งมั่นกับพระนิพพาน เป็นหลักเป็นกรรมฐานที่ใช้คู่กับ อุปสมานุสสติ สรุปง่าย ๆ ก็คือ เป็นกรรมฐานที่เฉพาะพระอริยะเท่านั้นที่จะตั้งมั่นได้ สำหรับพระโสดาบัน มรณานุสสติตั้งมั่นอย่างน้อยวันละครั้ง ถ้าเป็นพระอริยะบุคคลระดับพระอรหันต์ก็คือทุกวินาที คือเตรียมพร้อมที่จะตาย นั่นเอง ทำนองนั้นแหละ

"อยู่ก็สร้างกุศลต่อไป ตายแล้วก็เอาไปเผา"

โอ้ เอ๋ย อนิจจา เป็นนักปราชญ์ ฉลาดล้ำ บุญทาน ไม่รู้จักทำ ฉลาดล้ำ แต่เรื่องวน ภาวนา ไม่เคยสน ไม่เคยยล พิศมัย มองหา แต่ศิวิไลซ์ พิศมัย แต่เงินตรา ชีวิต ที่โลดแล่น ตั้งกำแพง ถือยศถา แสวงหา ศักดินา เพลินมายา หลงลืมตน ทุกวัน หาคำหวาน มัวสำราญ สรรเสริญ หลงผิด เป็นทุนเติม ให้ห่างเหิน จากวัดวา
สุดท้าย วันมาถึง มารำพึง และโหยหา ว่าคำ พระสัมมา พุทโธจ๋า ไม่อยากตาย สี่เท้า มันรู้ทัน ไฉนปราชญ์ ไม่รู้แก้ หลงแก่ พัลวัน จะจากกัน พร่ำอาวรณ์ บ้านจ๋า ยศของฉัน มารำพัน อย่างโหยหา มรณา ที่เข้ามา บ่ได้มี สิ่งใดไป ยามเป็น ไม่ฉลาด ยามจำจาก จึงต้องเหงา ทิ้งร่าง เหมือนดั่งเงา ตั้งให้เขา ดำเนินการ เหลือกาย ซ่อนในโลง เพียงนอนเฉย อย่างอับเฉา โอ้หนอ นะคนเรา มีสิ่งใด ติดตามตัว
มีเหรียญบาท ยัดใส่ปาก สัปเหร่อ ยังควัก ไม่ให้เจ้ากลืน คิดแล้ว มันน่าขมขื่น เหลือผ้าสองผืน พอปิดกาย บางครั้ง คนเผลอ สัปเหร่อ ยังแก้ เอาผ้าม่วง ผ้าแพร ไปเที่ยว เร่ขาย ต้องนอน แต่งชุดเดียว ทั้งวันเกิด วันตาย ต้องไป นอนเปลือยกาย อยู่บนเชิงตะกอน"


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส

15


เสียงทานธรรม มั่นคงได้ สวัสดี
เจริญศรี เป็นมงคล ทุกสมัย
ผู้รับฟัง สร้างกุศล บาปลาไกล
ได้เป็นไท ไม่เป็นทาส กิเลสตน
ขอมงคล หมื่นพิพัฒน์ ด้วยวสี
เติมชีวี ทุกทุกท่าน เหล่าสหาย
หากเปี่ยมบุญ ถึงที่สุด แจ้งนามกาย
ทุกข์ให้คลาย ถึงสุขยิ่ง ตามกาล เทอญ
ธัมมะวังโส
๔ ก.ย. ๕๙


หน้า: [1] 2 3 ... 16